Saturday, May 19, 2012

ข้อมูลภาพยนตร์ "สถานี 4 ภาค" "Four Stations"



ภาพยนตร์เรื่อง “สถานี 4 ภาค” หรือ “Four Stations” ดัดแปลงจากเรื่องสั้นชั้นครูของ 4 นักเขียนชื่อดัง
ภาคเหนือ     “ตุ๊ปู่” โดย มาลา คำจันทร์
ภาคกลาง     “สงครามชีวิตส่วนตัวของทู-ทา” โดย วัฒน์ วรรลยางกูร 
ภาคอีสาน     “ลมแล้ง” โดย ลาว คำหอม
ภาคใต้      “บ้านใกล้เรือนเคียง” โดย ไพฑูรย์ ธัญญา


ทีมงาน
    อำนวยการสร้าง    สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ดำเนินงานสร้าง ปลาเป็นว่ายทวนน้ำ บท / กำกับ / ควบคุมงานสร้าง    บุญส่ง  นาคภู่ ดำเนินงานสร้าง / ช่วยกำกับ พงศกร เจริญรัตน์ กำกับภาพ เล็ก ประกิต กำกับศิลป์ ธวัชชัย เติมสุข ออกแบบเสื้อผ้า พราวเพลิน ตั้งมิตรเจริญ บันทึกเสียง ชาย  คงศีลวัตร Sound Hut ตัดต่อ เอกลักษณ์  อนันตสมบูรณ์ ออกแบบเสียง / ผสมเสียง ไพสิฐ พันธ์พฤกษชาติ โฟลีย์ ฑีฆะเดช  วัชรธานินทร์  ดนตรีประกอบ  ไกรวัลย์ กุลวัฒโนทัย แก้สี  ดนุวัฒน์ เจตนา Lifeboat


ข้อมูลภาพยนตร์
    ภาพยนตร์เรื่องยาว แนวชีวิต (Drama) ความยาว 120 นาที ถ่ายทำด้วยระบบดิจิตอลความละเอียดสูง ระบบเสียงสเตอริโอ สีคมชัด


เรื่องย่อ
    คนตัวเล็ก ๆ 4 คน ที่อาศัยอยู่ตามหลืบเร้นใน 4 ภาคของประเทศไทย กำลังต่อสู้ดิ้นรนเพื่อแก้ไขปัญหาของตัวเองอย่างสุดกำลัง ท่ามกลางอุปสรรคมากมายจากรอบด้าน ภาคเหนือ ตุ๊ปู่-พระนักปฏิบัติแก่หง่อม พยายามทำให้พระเณรและเด็กวัดสงบสำรวม ก่อนศรัทธาของญาติโยมจะเสื่อมลงไปมากกว่าที่เป็นอยู่ ภาคกลาง ทู-แรงงานพม่าหนุ่มต้องทิ้งไร่มะเขือ เพื่อหาเงินมาไถ่ตัวเมียรักคืนให้ได้ก่อนจะถูกส่งกลับพม่า ภาคอีสาน คำกอง-เด็กกำพร้าพ่อแม่พยายามอย่างสุดกำลังเพื่อจะได้เป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวยากจนของป้ากับลุง ภาคใต้ ซ้วนกับแคล้ว-เพื่อนรักสองคนต้องกลายมาเป็นศัตรูคู่อาฆาตที่ต้องห้ำหั่นกันให้ด่าวดิ้นลงไปข้าง เรื่องราวที่ไม่สำคัญของคนตัวเล็ก ๆ ทั้ง 4 คน และอีกหลายชีวิตที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับพวกเขา ได้เกี่ยวประหวัดรัดร้อยกันอย่างแช่มช้า ขณะที่โลกหมุนไปไม่สิ้นสุด และรถไฟสายหลักของประเทศไทยก็แล่นผ่านไปทุกวัน ในห้วงเวลาที่เราได้นั่งพินิจพิจารณาดูชีวิตของพวกเขา เราจะค่อย ๆ พบความจริงบางอย่างที่เราไม่คาดคิดและยากจะปฏิเสธได้



จุดเด่น
    เป็นภาพยนตร์อิสระเรื่องยาว เรื่องที่ 2 ของกลุ่มปลาเป็นว่ายทวนน้ำ โดยบุญส่ง นาคภู่ ดัดแปลงจากเรื่องสั้น 4 เรื่อง ของนักเขียน 4 คน จาก 4 ภาค 4 ภาษา 4 ปัญหา 4 วัฒนธรรม  หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว เพื่อบอกเล่าปัญหาและวัฒนธรรมของประเทศไทย โดยมีรถไฟเป็นตัวเชื่อมแบบหลวม ๆ


FOUR STATIONS

The second film of the Pla Pen Wai Thuan Nam Group, adapts from four short stories which are written by four greatwriter.  The stories represent four poor people from four parts of Thailand who are confronting four different problems.  The film is made by combining four stories into one by the railway and trains.  It is an independent film that is enjoyable but challenge interpretation.

Synopsis
Four low society people living along the railway in four parts of Thailand are fighting for their lives amid lots of problems.  In the North, “Tu Poo”, an old monk, attempts hardly to teach younger monks, novices and temple boys of today society to become calm and self controlled.  Otherwise, the folks will lose their faith in monks and religious.  In the Central, “Thu”, a young Myanmar labor has to leave his job in a farm to ransom his wife or she will be sent back to Myanmar.  In the Northeast, “Kham Kong”, an orphan, tries his best to be accepted byhis aunt and her husband as a member of this poor family. In the South, Suan and Klaew are lovely neighbor but, finally, they turn to be the opponents.  These unimportant stories of four small people and their related lives are linked gradually.  As time goes by, when we see their lives, we will consecutively understand the diversity of cultures that form a man like us.

Director's Statement
First of all, my inspiration of making this film not only comes from my love in Thai literature, short story and novel but also my admiration toward the four distinguished Thai writers.  Secondly, although there are the limitation of budget and making money out of mainstream film industry as well as the themes of mainstream Thai films which are likely to be funny, light-hearten, loving, spooky or trendy,  however I would like to adapt one of an excellent Thai literature into film so that viewers will have a chance to see the very few alternatives.  Consequently, the wisdom, art and culture in Thai society will be broadened and diversified.  However, what has happened in the film industry is dependent on film producers and the viewers who have their own reasons of choosing the best for themselves, which means money and entertaining.  So, we have tried to create an alternative for the viewers by making low cost independent film with high quality. As a farmer's son, I intend to make this film to tell my root story.  The “Four Station” is one of the best films I would like to share and to be a representative of rural people in Thai society.  They have been considerably influenced by western culture negatively.  By watching movie, we learn from other people's lives so that we will understand more of ourselves.

Main cast
Suchart  as Thoo
Prapha Thanyaboonsiri as Tha
Prasri Proonyamano as Tupoo
Nares Putpisut as Boonkong
Piya Chaikaewkhao as Klaew
Boontham Thepburee as Chuan
Samanmit Promwong as Boonkong’s uncle
Yanisa Agproo as Boonkong’s aunt

Teamwork
Executive Producer: Office of Contemporary Art And Culture, Ministry Of Culture, Thailand and Piyachat Nakphoo  Producer: Pla Pen Wai Thuan Nam Group  Screenplay Writer/Director/Producer: Boonsong Nakphoo Producer/Assistant Director: Pongsakorn Charoenrut.Director of Photography: Prakij Chotjarusarporn.  Art Director: Thawatchai Toemsuk.  Costume Designer: Proudploen Tangmitcharoen.  Sound Recorder: Chai Kongsilwat and Sound Hut  Sound Designer/Mixer: Paisit Panprueksachat.  Editor: Eakalak Anantasomboon Foley: Theekadej Wacharathanin  Colorist:  Danuwat Jetana.

Contact Us
Pla Pen Wai Thuan Nam Group/Boonsong Nakphoo 39/100 Ratchadaphisek Road Taladploo, Thounburi Bangkok 10600, Thailand Tel +66 81 5673710, +66 80 8151294 Email: boonsong2511@hotmail.com, plapen@hotmail.co.th
 website : http://www.facebook.com/Sueb.nakphoo,  http://plapenfilm.blogspot.com



วันฉาย

14-20 มิถุนายน 2555 ทุกวัน รอบเวลา รอบ 18.30 น. ลิโด 1















ติดตามข่าวสารภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้ที่ http://www.facebook.com/FourStations



No comments:

Post a Comment